Rang Ruam Samai is a photo exhibition that continues the concept of “Corps de Style”, by Julien Spiewak, a series he has been developing since 2005. This concept refers to "style furniture"—Louis XV-type pieces reproduced in the 19th and 20th centuries. These pieces of furniture are not merely decorative items; they embody exquisite craftsmanship and highlight the connection between art and everyday life.
Spiewak began his photographic quest in private homes, meticulously examining their furniture, personal effects, and room layouts—each interior revealing something about the person who resides there, like an indirect portrait. Every object becomes a repository of history and memory. His photographs strip away the identity of the subjects, creating an air of mystery through the use of bare bodies or partial glimpses of the human form. These fragmented bodies are seamlessly integrated with the furniture, blending the imperfect elegance of human anatomy with the curves of a sofa, the edge of a mantelpiece, or the sweep of a staircase in a strikingly beautiful manner.
From the intimate decor of private homes, the artist gradually transitioned to the public spaces of museums. However, the museums he selected have always had the particularity—not only as places of history but also as spaces once filled with life.
Rang Ruam Samai is not only the artist's debut exhibition in Thailand but also a platform for dialogue between Western and Eastern cultures, exploring contrasting perceptions of the human body, furniture, and house. The exhibition delves into history, art, and the urban landscape of Bangkok through three distinct venues: Sirisala Private Thai Villa, Wat Suwannaram Ratchaworawihan, and So Heng Tai.
ร่าง ร่วม สมัย เป็นนิทรรศการภาพถ่ายที่สานต่อมาจากแนวความคิด Corps de Style ของศิลปิน Julien Spiewak ซึ่งเขาได้ริเริ่มสร้างสรรค์ขึ้นมาตั้งแต่ปี 2005 ซึ่งสะท้อนถึงความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายกับเครื่องเรือนหรือเฟอร์นิเจอร์ที่มีความประณีตและมีสไตล์อันเป็นเอกลักษณ์ โดยเฉพาะเครื่องเรือนที่ได้รับอิทธิพลจากสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ที่ยังคงถูกผลิตมาอย่างต่อเนื่องในศตวรรษที่ 19 และ 20 โดยเครื่องเรือนเหล่านี้ไม่ได้เป็นเพียงของตกแต่ง แต่ยังแสดงถึงงานฝีมืออันงดงามและความเชื่อมโยงระหว่างศิลปะกับชีวิตประจำวันอีกด้วย
Julien ได้เริ่มต้นสำรวจบ้านเรือนของผู้คน โดยเขาได้ให้ให้ความสำคัญกับการพิจารณารายละเอียดของเครื่องเรือน ข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัว รวมไปถึงการจัดวางพื้นที่ภายในบ้านแต่ละหลัง เขาเชื่อว่าการออกแบบและสิ่งของในบ้านเปรียบเสมือนหน้าต่างของหัวใจของผู้อยู่อาศัย ซึ่งสะท้อนถึงเรื่องราวและความทรงจำที่ซ่อนอยู่ ภาพถ่ายของเขาได้ลบอัตลักษณ์ของผู้เป็นแบบ แล้วแทรกองค์ประกอบของความลึกลับผ่านการใช้เรือนร่างอันเปลือยเปล่า หรือเผยให้เห็นเพียงบางส่วนของร่างกาย แล้วนำมาผสมผสานกับเครื่องเรือนดังกล่าว ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่ปรากฏในภาพเต็มไปด้วยความอ่อนช้อยอันไม่สมบูรณ์แบบของมนุษย์ แต่กลับผสานเข้ากับความโค้งมนของโซฟา ขอบเตาผิง หรือราวบันไดได้อย่างงดงาม
ในเวลาถัดมา Julien ได้เริ่มทำงานกับพื้นที่ที่มีความสาธารณะมากขึ้น เช่น คอลเล็กชันส่วนตัวและพิพิธภัณฑ์ทั้งในและต่างประเทศ โดยสถานที่ที่เขาเลือกมักมีลักษณะพิเศษที่ไม่เพียงแต่เป็นสถานที่ที่บันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ หากยังเคยเป็นพื้นที่ที่มีชีวิตชีวาและความเคลื่อนไหวในอดีตอีกด้วย
นิทรรศการ ร่าง ร่วม สมัย จึงไม่เพียงเป็นก้าวแรกของการทำงานและแสดงผลงานของศิลปินครั้งแรกในประเทศไทย แต่ยังเป็นการสร้างบทสนทนาระหว่างวัฒนธรรมตะวันตกและตะวันออก ซึ่งมีแนวความคิดในเรื่องของร่างกายมนุษย์ เครื่องเรือน และบ้านเรือนที่แตกต่างกันออกไป อีกทั้งยังเป็นการสำรวจประวัติศาสตร์ ศิลปะ และทิวทัศน์รอบเมืองกรุงเทพมหานครผ่านสถานที่ 3 แห่ง ได้แก่ สิริศาลาไพรเวทไทยวิลล่า, วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร และโซว เฮง ไถ่
Download Catalog: Here
“Rang Ruam Samai” is the next edition of West Eden’s collaboration series which aims to bring new ideas, curatorial direction and artists from overseas to Thailand and to push Thai artists overseas. Following on from a successful collaboration with Thai - Singaporean gallery 1Projects, West Eden is presenting Rang Ruam Samai in partnership with Geneva based espace_L, led by gallerist Leticia Maciel.